โครงการข้าวรักษ์โลก BCG Model เป็นผลงานของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ต้องการให้ชาวนาทำการปฏิวัติการทำนาใหม่เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน โดยในโครงการส่งเสริมการใช้จุลินทรีย์เพื่อการเกษตร SG1 ที่มีความสามารถทำให้ต้นไม้แข็งแรงใบใหญ่มีรากมาก ลงไปในดินสร้างธาตุสารอาหารที่สำคัญให้กับพืช N P K ธาตุรอง ธาตุเสริม ป้องกันศัตรูพืชและโรคร้าย ควบคุมการเจริญเติบโตของหญ้า และยังส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยี โดรนเพื่อการเกษตร เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานทางเลือกแบบหมุนเวียน ที่จะเข้ามาช่วยเหลือเกษตรกรให้สามารถลดต้นทุนในการเพาะปลูกลง ทำให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ส่งเสริมการจัดทำมาตรฐาน GAP ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้งาน TAD Application ที่รวบรวมห่วงโซ่ในกระบวนการเกษตรที่จะทำให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ การส่งเสริมจากภาครัฐและเอกชน แหล่งเงินทุน โครงการดีๆ และเกษตรกรสามารถสร้างแปลงเพาะปลูกในระบบได้สามารถเสนอซื้อและขายผลผลิตในระบบ เอกชนสามารถเข้ามาเปิดร้านค้าในระบบได้ ระบบทำการจับคู่ตามความต้องการเพิ่มโอกาสเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรสามารถขายผลผลิตได้โดยตรงและสามารถขายแบบจองล่วงหน้า จากการส่งเสริมโครงการดังกล่าวทำให้ได้ผลผลิตข้าวดีมีคุณภาพ ปลอดสารพิษ ดีต่อสุขภาพ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ปัจจุบันโครงการข้าวรักษ์ BCG Model ที่เป็นโครงการนำร่องระยะที่ 1 ทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวแล้ว และทีสำคัญคือผลผลิตข้าวมะลิ 105 ต่อไรสูงถึง 550 กิโลกรัมต่อไร่ซึ่งถือว่าสูงมากจากการเปลี่ยนแปลงมาทำนาแบบประณีตตามโครงการข้าวรักษ์โลก BCG Model เพราะในภาคอีสานส่วนใหญ่จะได้ผลผลิตอยู่ที่ 300-350 กิโลกรัมต่อไร่เท่านั้นและเพื่อเป็นการช่วยเหลือส่งเสริมเกษตรกรทางสมาคมพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรรักษ์โลก จึงได้ทำการรับซื้อข้าวหอมมะลิ 105 ที่เพาะปลูกในโครงการข้าวรักษ์โลก BCG Model ในราคาที่สูงกว่าราคาตลาด เพื่อนำไปสีในโรงสีที่มีมาตรฐานสูงระดับส่งออกข้าวและมีมาตรฐาน ISO22000 ให้ได้ผลิตภัณฑ์ออกมาเป็น “ข้าวรักษ์โลก” เกรดพรีเมียม ที่นำมาอวดโฉมในงาน APEC2022 และกรมการข้าว กระทรวงเกษตร โดยท่าน ณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ สนับสนุนงบประมาณในการผลิต “ข้าวรักษ์โลก” เพื่อแจกสื่อมวลชนต่างชาติมากกว่า 4,000 คนในงาน APEC2022 เพื่อเป็นการสื่อสารการตลาดระดับสากลประกาศให้ทั่วโลกได้รับรู้ว่าประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตข้าวที่ดีมีคุณภาพ ปลอดสารพิษ ดีต่อสุขภาพ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้ชื่อ “ข้าวรักษ์โลก” Save Planet Rice Platform