ทำไมต้องเป็นข้าวรักษ์โลก

การเพาะปลูกข้าวเป็นการเพาะปลูกที่ปล่อยก๊าซเลือนกระจกมากที่สุด ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนนำมาสู่วิกฤตสภาพอากาศ (climax change) ที่กระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนทั้งโลก และยังส่งผลต่อเกษตรกรอย่างรุนแรง ดังนั้นทุกภาคส่วนของสังคม ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดผลกระทบดังกล่าวสมาคมพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรรักษ์โลก องค์กรแถวหน้าของการรักษาสิ่งแวดล้อม นำการเปลี่ยนแปลงการผลิตการเพาะปลูกที่ ลดการใช้สารเคมีปุ๋ยเคมียาฆ่าแมลง ลดการปล่อยก๊าซเลือนกระจก เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แล้วนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจชุมชน เกณฑ์ปฏิบัติการเพาะปลูกเริ่มตั้งแต่การเตรียมดินการให้ธาตุอาหารพืชด้วยชีวภัณฑ์ชีวภาพย่อยสลายตอซังข้าวเพื่อเพิ่ม NPK ตลอดจนสร้างระบบพึ่งพาของนิเวศน์สิ่งมีชีวิตในแปลงนา ทำให้ไม่มีการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืชแต่ใช้นักฆ่าตามธรรมชาติ การใช้เทคนิคเปียกสลับแห้ง ลดการสร้างก๊าซมีเทน และไม่เผาฟางลดการต่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่กลับนำฟางมาเล่นการย่อยสลายให้เป็นธาตุอาหารพืชข้าวรักษ์โลก จึงเป็นข้าวสารเพื่อสุขภาพ เพราะจากปัจจัยข้างต้นทำให้ข้าวสาร อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และที่สำคัญไม่มีสารเคมีตกค้าง ปลอดภัย ปลอดสารพิษ ดีต่อสุขภาพ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

Next Move สมาคมฯ ลุยธุรกิจข้าวรักษ์โลกใน “กานา-แอฟริกา”

สมาคมพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรรักษ์โลก Next Move รุกธุรกิจข้าวรักษ์โลก คว้าโอกาสเชื่อมประตูการค้า “กานา-แอฟริกา” ย้อนไปเมื่อวันที่  26 ธันวาคม 2565 กงศุลกานาประจำประเทศไทย เข้าพบ นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว  เพื่อหารือความร่วมมือในการทำโครงการข้าวรักษ์โลก BCG Model โดยประเทศกานามีภูมิประเทศและสภาพอากาศที่คล้ายคลึงกับประเทศไทย ปัจจุบันมีการเพาะปลูกข้าวอยู่บ้างแต่เป็นพันธ์ุพื้นเมืองผลผลิตต่ำและยังไม่มีคุณภาพ ที่ผ่านมาทางประเทศกานาเห็น โครงการข้าวรักษ์โลก BCG Model ของประเทศไทย ตามแนวทางการปฏิวัติการทำนาสู่ความยั่งยืนของท่านพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่เห็นผลเชิงประจักษ์ในการลดต้นทุนการผลิต เพิ่มคุณภาพข้าวและจำนวน เกษตรกร ไม่ต้องสัมผัสกับสารเคมีปุ๋ยเคมี โดยหันมาใช้จุลินทรีย์เพื่อการเกษตร ทำให้เป็นการทำเกษตรแบบปลอดภัยที่ทำให้ได้ผลผลิตปลอดสารพิษ ดีต่อสุขภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทางประเทศกานาจึงมีความสนใจในการนำ “โครงการข้าวรักษ์โลก BCG Model” ไปประยุกต์ใช้ในประเทศกานา ล่าสุด ดร.ภณ ทัพพินท์กร นายกสมาคมพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรรักษ์โลก เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”   ปัจจุบันทางประเทศกานา ทำการจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรรักษ์โลก (ปรเทศกานา) เป็นที่เรียบร้อยเพื่อที่จะดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสมาคมพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรรักษ์โลก ต่อไปในประเทศกานาและขยายไปต่อในทวีปแอฟริกาต่อไป นับว่าเป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่ประตูสู่การค้าขาย “หากประเทศไทยไม่เข้ามาในวันนี้ ประเทศเวียดนาม และประเทศอินเดีย เตรียมพร้อมที่จะเข้ามาช่วยเหลือด้านการเพาะปลูกข้าวให้กับประเทศกานาเช่นกัน ดังนั้นหากประเทศไทยไม่เข้ามาไม่ยื่นมือเข้ามาช่วยเราจะเสียโอกาสอีกมากมายที่เป็นความร่วมมือทางด้านอื่นๆที่จะเกิดขึ้นมาภายหลังต่อไป และเป็นที่ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศกานาเลือกประเทศไทย” ปัจจุบันสภาพภูมิอากาศสภาพแวดล้อมประเทศกานาเหมือนเมืองไทยมีดินดีน้ำดีแต่ทำการเกษตรไม่ค่อยเป็นเท่าไรนักขาดเมล็ดพันธุ์… Continue reading Next Move สมาคมฯ ลุยธุรกิจข้าวรักษ์โลกใน “กานา-แอฟริกา”

ประเทศไทยต้องเดินหน้าต่อไปสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน

ในงานก้าวสู่ทศวรรษที่ 3 กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2567 จัดขึ้นที่เมืองทองธานี Hall 6 มีการจัดแสดงสินค้าของดีแต่ละหมู่บ้านและจัดนิทรรศการโครงการต่างๆ ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ซึ่งมี “โครงการข้าวรักโลก BCG Model” ที่เป็นโครงการส่งเสริมสนับสนุนชาวนานักรักษ์และนักพัฒนาให้ลุกขึ้นมาปฏิวัติการทำนาสู่ความยั่งยืน ภายใต้เศรษฐกิจ BCG Model ที่ส่งเสริมตั้งแต่ต้นน้ำ เอาตลาดนำการผลิต ส่งเสริมเมล็ดพันธุ์ชั้นขยาย และจุลินทรีย์เพื่อการเกษตร B = Bio Economy กลางน้ำ ส่งเสริมให้เกษตรกรไถ่กลบตอซังข้าวแล้วฉีดพ่นด้วยจุลินทรีย์เพื่อการเกษตร เพื่อย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยธรรมชาติ C = Circular Economy และให้ฉีดพ่นด้วยจุลินทรีย์ต่อไปทุก 15 วันจนเก็บเกี่ยวโดยเลิกใช้ปุ๋ยเคมีสารเคมียาฆ่าแมลงยาฆ่าหญ้า ผลผลิตข้าวจึงปลอดภัย ปลอดสารพิษ ดีต่อสุขภาพ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม G = Green Economy อีกทั้งยังมีการส่งเสริมโดรนเพื่อการเกษตร เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานทางเลือกแบบหมุนเวียน ESSS ที่เพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกและลดค่าใช้จ่าย ปลายน้ำ ภาคีโรงสีกลับมารับซื้อข้าวที่ดีมีคุณภาพในราคาที่สูงเพิ่มขึ้นผลลัพธ์เชิงประจักษ์ ลดค่าใช้จ่ายในการเพาะปลูกได้ 2,000 บาท… Continue reading ประเทศไทยต้องเดินหน้าต่อไปสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน

เริ่มแล้ว!! โครงการข้าวรักษ์โลก BCG Model (นาปรัง) ปฏิวัติทำนารับปี 66 เปิดพื้นที่ 10 จว.5 หมื่นไร่ปลูกข้าวเกรดพรีเมียมรับดีมานด์ตลาดเพิ่ม

4 สมาคมจับมือเดินหน้า“โครงการข้าวรักษ์โลก BCG Model (นาปรัง)” เปิดนำร่อง 10 จังหวัดพื้นที่กว่า 5 หมื่นไร่ พร้อมผลิตข้าวคุณภาพดีพรีเมียมเกรดตามความต้องการของตลาด นายกสมาคมพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรรักษ์โลกเผย จีนพร้อมซื้อหลังอวดโฉมในงานเอเปก   ห้องประชุมจักรพันธ์  กรมการข้าว สมาคมฯ ต่างๆ ประกอบด้วย สมาคมพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรรักษ์โลก สมาคมโรงสีข้าวไทย กรรมการกลางศูนย์บริหารจัดการข้าวครบวงจร สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย (สมาคมศูนย์ข้าวชุมชน ) ร่วมกันแถลงข่าว “โครงการข้าวรักษ์โลก BCG Model (นาปรัง)” ต่อยอดศูนย์ข้าวชุมชน สู่ศูนย์บริหารจัดการข้าวชุมชนระดับตำบล จำนวน 10 โครงการ ต่อจังหวัด จำนวน 10 จังหวัด รวม 100 โครงการ  “ดร.ภณ ทัพพินท์กร” นายกสมาคมพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรรักษ์โลก กล่าวถึงการลงนามความร่วมมือระหว่างสมาคมต่างๆ ในโครงการนี้ว่า “โครงการข้าวรักษ์โลก BCG Model (นาปรัง)ในครั้งนี้ เป็นการต่อยอดมาจากโครงการนำร่องข้าวรักษ์โลก BCG โมเดล  20… Continue reading เริ่มแล้ว!! โครงการข้าวรักษ์โลก BCG Model (นาปรัง) ปฏิวัติทำนารับปี 66 เปิดพื้นที่ 10 จว.5 หมื่นไร่ปลูกข้าวเกรดพรีเมียมรับดีมานด์ตลาดเพิ่ม

กรมการข้าวพร้อมจัดใหญ่งาน “วันข้าวและชาวนาแห่งชาติ”

นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า ในปีนี้กรมการข้าวมีการจัดงานรณรงค์ถ่ายทอดเทคโนโลยีลดต้นทุนการผลิตด้านการเกษตร สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวและชาวนาแห่งชาติประจำปี 2566 ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยการจัดงานในส่วนกลางนั้น จัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-7 มิถุนายน 2566 ณ กรมการข้าว ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ภายใต้ชื่องาน “91 พรรษา สายธารแห่งน้ำพระทัย สร้างชาวนาวิถีใหม่ สู่ข้าวไทยยั่งยืน” โดยได้รับเกียรติจาก ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงาน และในส่วนของภูมิภาคอีก 2 แห่ง ซึ่งจัดใหญ่ไม่แพ้กัน คือ จังหวัดพิษณุโลก จัดขึ้นที่ ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ในวันที่ 16-17 มิถุนายน 2566  และจังหวัดนครราชสีมา จัดขึ้นที่ Korat Hall ชั้น 4 ห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัล นครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ในวันที่ 22-23 มิถุนายน 2566 ด้านนายอานนท์… Continue reading กรมการข้าวพร้อมจัดใหญ่งาน “วันข้าวและชาวนาแห่งชาติ”

“ศูนย์ข้าวชุมชน” อธิบดีกรมการข้าว จัดระเบียบใหม่ ต้องไม่ซ้ำซ้อนกับเกษตรแปลงใหญ่ กันครหาไม่โปร่งใส เล็งสวมโมเดลข้าวรักษ์โลก หันมาใช้จุลินทรีย์แทน อุดหนุนพันธุ์ข้าวเป็นรายจังหวัด สอดคล้องกับความต้องการของโรงสีในพื้นที่นั้น พ่วงขายคาร์บอนเครดิตเพิ่มรายได้ชาวนา

นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงแนวคิดที่จะเปลี่ยนโลโก้ใหม่ จาก “ศูนย์ข้าวชุมชน” มาเป็นศูนย์บริหารจัดการข้าวครบวงจร” เปลี่ยนชื่อไม่ได้แต่วิธีการทำงานมุ่งเน้น การผลิตข้าวและพัฒนาชาวนาอย่างยั่งยืน โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตข้าว เช่น การพัฒนาเศรษฐกิจแบบใหม่ โดยใช้การผลิตเกษตรกรรมมูลค่าสูง เกษตรกรรมยั่งยืน เพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการพัฒนาข้าวด้วยตนเอง ช่วยให้ชุมชนและองค์กรชาวนา เกิดความเข้มแข็งยั่งยืนและพัฒนาเพื่อนำไปสู่การยกระดับการบริหารจัดการผลผลิตข้าวตลอดระบบห่วงโซ่การผลิตและการตลาดข้าวอย่างครบวงจรจาการดำเนินงานร่วมกันระหว่างศูนย์ข้าวชุมชนและกรมการข้าว นั้น เพื่อให้การดำเนินงานของศูนย์ข้าวชุมชนเป็นไปด้วยความเรียบร้อยมีหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการดำเนินงานในการส่งเสริมสนับสนุน และติดตาม กำกับ ดูแล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ปัจจุบันได้มีคำสั่งแต่งตั้งศูนย์ข้าวชุมชน ทั่วประเทศ 6,559 ศูนย์ เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา มีแผนงาน ระเบียบ โครงการสามารถตรวจสอบได้ผ่านแอพพลิเคชั่น จะลงไว้ละเอียดเลย ที่ตั้งศูนย์ รายละเอียดข้อมูลแค่ละศูนย์ อยู่ระหว่างการรวบรวม   เปิด แอพพลิเคชั่น “ศูนย์ข้าวชุมชน”  ส่วนโปรแกรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไม่เช่นนั้นจะตอบคำถามสาธารณะไม่ได้ว่า “ศูนย์ข้าวชุมชน” ตั้งอยู่ที่ไหน อุปโลกน์ขึ้นมาหรือไม่… Continue reading “ศูนย์ข้าวชุมชน” อธิบดีกรมการข้าว จัดระเบียบใหม่ ต้องไม่ซ้ำซ้อนกับเกษตรแปลงใหญ่ กันครหาไม่โปร่งใส เล็งสวมโมเดลข้าวรักษ์โลก หันมาใช้จุลินทรีย์แทน อุดหนุนพันธุ์ข้าวเป็นรายจังหวัด สอดคล้องกับความต้องการของโรงสีในพื้นที่นั้น พ่วงขายคาร์บอนเครดิตเพิ่มรายได้ชาวนา